วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

"เรามาเรียนรู้ เรื่อง อาเซี่ยน กันเถอะ"


สัญลักษณของอาเซียน  
         เปนรวงขาวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงการที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตท้ัง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเปนนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน อยูในพื้นที่วงกลมสีแดง ขอบสีขาวและนํ้าเงิน ึซ่งแสดงถึงความ
เปนเอกภาพ มีตัวอักษรคําวา “asean”  ีสนํ้าเงินอยูใตภาพ อันแสดงถึงความมุงมั่นที่จะทํางานรวมกันเพื่อความมั่นคง ั สนติภาพ เอกภาพ และความกาวหนาของประเทศสมาชิกอาเซียน ีสท้ังหมดที่ปรากฏใน
สัญลักษณของอาเซียนเปนสีสําคัญที่ปรากฎในธงชาติของแตละประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสีนํ้าเงิน หมายถึง สันติภาพ  และความมั่นคง ีสแดง หมายถึง ความกลาหาญและความกาวหนา ีสขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุงเรือง


อาเซียน : ASEAN (Association of South East Asia Nations)
        หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ค. ปี 2504 โดยประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South east Asia เพื่อที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่างอินโอนีเซียกับมาเลเซีย จนกระทั่งมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพ จึงมีการมองสู่ทางที่จะจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมภาคนี้ ดังนั้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค. พ.ศ. 2510 โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย และได้ทำการลงนามปฎิญญากันที่กรุงเทพ ฯ ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ ซึ่งมีสมาชิกที่เพิ่มขึ้น คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยประเทศอาเซียนได้ตกลงที่จะลด

อากรขาเข้าทางการค้าเป็นพิเศษสำหรับสินค้าในกลุ่มมิอาเซียน มีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวสำหรับสินค้าบางชนิดระหว่างกัน ให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าอาเซียนในการจัดซื้อของหน่วยงานและองค์กรของรัฐ ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การซื้อขายสินค้าอาเซียน ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นต้น ส่วนสำนักงานของ

อาเซียน หรือที่เรียกกันว่า สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของกลุ่ม

อาเซียน ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/sociology/10000-1136.html

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กศน.พุ่งเป้าพัฒนาการศึกษาอาชีพเน้นมีงานทำ เน้น 5 กลุ่มอาชีพ

        นาย ประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มอบนโยบายแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนงานจากสำนักงาน กศน.จังหวัด/อำเภอ เกือบ 400 คน ว่าการจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้ มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” และได้กำหนดภารกิจจะพัฒนายกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความ สามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ที่มั่นคง โดยสำนักงาน กศน.ได้กำหนดหลักการในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำไว้ว่า ต้องเป็นการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นด้านหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ใน 5 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงกลุ่มจัดการและการบริการ โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ โดยมุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมี คุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง

        เลขาธิการ กศน.กล่าวอีกว่า สำนักงาน กศน.ได้นำนโยบายและยุทธศาสตร์ข้างต้นไปสู่การปฏิบัติเพื่อจัดการศึกษาพัฒนา อาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนมีรายได้และมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล โดยจัดศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ ประชาชนและประเทศชาติ.

เอามาจากเว็บไซตืครู กศน.ดอทคอมจ้า
http://www.krukorsornor.com/news-id516.html

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ภาระกิจ ของ คุณครู กศน.ตำบล.

กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน. อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ในชุมชน 

กศน. ตำบล มีภาระกิจที่สำคัญ ดังนี้ 

1 จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้า หมาย ในชุมชน อย่างน้อยปีละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรม ดังนี้ 
1.1 การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย
1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 60 คน
1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 20 คน
1.2.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 20 คน
1.2.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน
1.2.5 การส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชยาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน
1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน

2 สร้าง และขยายภาคีเครือข่าย เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน

3. ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วม และศักยภาพในการจัด

4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.

5. จัดทำแผนงานโครงการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่ม เป้าหมาย และชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงาน ของ สำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัด และ กศน. อำเภอ ที่สังกัด เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ จาก กศน. อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัวตามที่ มติคณะรัฐมนตรีกำหนด คูณด้วยจำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นั้น จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน. อำเภอ

6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนชุมชน และภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและกับ กศน. อำเภอ ที่สังกัด ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงาน บนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฏิบัติ

7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบ ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน. อำเภอที่สังกัด

8. รายงานผลการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้

9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จาก กศน. อำเภอ สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมาย กำหนด

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน จัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียนที่ 1/2554


        เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2554 กศน.อำเภอหนองหิน สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย จัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียนที่ 1/2554 ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้ โรงเรียนชุมชนหนองหิน เป็นสนามสอบ และ ได้รับการนิเทศ ตรวจเยี่ยม จาก สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย โดย มีคณะครู กศน.อำเภอหนองหิน และคณะกรรมการอำนวยการประจำสนามสอบ ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2554

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

สารผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก เนื่องในวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ 8 กันยายน 2554

สารผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก
เนื่องในวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ
๘ กันยายน ๒๕๕๔

   วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือในปีนี้ ขอเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ที่จำเป็นระหว่าง         การรู้หนังสือและสันติภาพ
   สันติภาพที่ยืนยาวย่อมอยู่บนรากฐานของความเคารพในสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมทางสังคม
   การรู้หนังสือคือพื้นฐานของการศึกษาทั้งมวลและของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนดังกล่าว
การรู้หนังสือเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดสันติภาพ เพราะเหตุที่การรู้หนังสือนำมาซึ่งประโยชน์ต่างๆ มากมาย อันส่งผลกระทบต่อมวลมนุษย์ รวมถึงสภาพแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
   การไม่รู้หนังสือของสังคมฐานความรู้ในปัจจุบันเปรียบได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคำว่าสังคมที่ถูกกีดกันหรือการเป็นสังคมชายขอบ
    ตัวเลขล่าสุด ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีผู้ใหญ่ที่ขาดทักษะการรู้หนังสือขั้นพื้นฐาน จำนวน ๗๙๓ ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กหญิงและสตรี มีเด็กวัยประถมศึกษามากกว่า ๖๗ ล้านคน ที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนและมีเยาวชนวัยมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๗๒ ล้านคน ที่พลาดสิทธิทางการศึกษา ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดคนรุ่นใหม่ที่ไม่รู้หนังสือ
   สถานการณ์ที่ไม่สามารถรับได้เช่นนี้ กำลังสะกัดกั้นความพยายามทั้งมวลที่จะลดความยากจนและความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์
    ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานและเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคง
    การรู้หนังสือคือตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาและแรงผลักดันให้เกิดสันติภาพ
   ประการแรก การรู้หนังสือทำให้แต่ละบุคคลมีความเข้มแข็ง ด้วยมีทักษะและความมั่นใจในการแสวงหาข้อมูล ที่สำคัญอันทำให้รับรู้ทางเลือกมากมายที่ส่งผลโดยตรงต่อครอบครัวและชุมชน
   ประการที่สอง การรู้หนังสือเป็นเงื่อนไขหนึ่งสำหรับบุคคลแต่ละคนที่จะเข้าร่วมกระบวนการประชาธิปไตยอย่างมีประสิทธิผล รู้ที่จะเรียกร้องสิทธิ์จากองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน มีความรู้ในเรื่องการเมือง เหล่านี้คือเหตุ   ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดรูปแบบนโยบายสาธารณะที่มีคุณภาพ
       ประการที่สาม โครงการรู้หนังสือต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันดีขึ้น ด้วยทำให้ผู้คนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรู้จักแสดงออก อนุรักษ์และพัฒนาเอกลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
     ไม่มีประเทศใดสามารถคาดหวังที่จะสร้างสภาพต่าง ๆ ที่จีรังยั่งยืนเพื่อให้เกิดสันติภาพได้ นอกเสียจากว่า     จะสามารถค้นพบวิธีการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างพลเมืองชาติด้วยระบบการศึกษาที่จัดให้เรียนร่วมกันอันจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ความนับถือ การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และการพูดคุยสนทนาร่วมกัน
    นับเป็นเรื่องสำคัญที่จะบูรณาการเรื่องการรู้หนังสือเข้าไว้ในกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อเพาะเมล็ดพันธุ์ แห่งสันติภาพ ปลูกฝังการพูดคุยและการปรองดอง รวมทั้งการให้เยาวชนและผู้ใหญ่ได้มีทักษะต่าง ๆ         ตามต้องการ เพื่อการทำงานที่เหมาะสม
         รางวัลที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือในปีนี้ เป็นรางวัลที่ให้แก่โครงการต่าง ๆ ที่ใช้วิธีการใหม่ ๆ ที่แสดงถึงบทบาทสำคัญของการรู้หนังสือในการเสริมสร้างสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ การแก้ปัญหา         ข้อขัดแย้งและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทุกโครงการเน้นให้เห็นจุดเด่นแม้ในบริบทที่ยากที่สุด โครงการส่งเสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพดีๆ เหล่านี้ กำลังทำงานและนำการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนมาสู่ชีวิตของเยาวชนและผู้ใหญ่
        การลงทุนในโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลและเป็นทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่จำเป็น    การรู้หนังสือเป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์สำหรับส่งเสริมการพัฒนาและสันติภาพอย่างยั่งยืน     และถือเป็นเรื่องสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของการศึกษาเพื่อปวงชนและการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
   โลกต้องการพันธกรณีทางการเมืองที่มีต่อการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นและเป็นไปอย่างเร่งด่วน โดยให้ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ อย่างพอเพียงเพื่อขยายโครงการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิผล ทุกวันนี้ ดิฉันได้กระตุ้นรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ องค์กรนานาชาติ สังคมพลเรือน และภาคเอกชน ในการทำให้การรู้หนังสือ          มีความสำคัญเชิงนโยบายเพื่อให้แต่ละคนได้พัฒนาศักยภาพ และร่วมในการสร้างรูปแบบสังคมที่ยุติธรรม   และเปี่ยมด้วยสันติสุขที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
                                                                   อิรินา  โบโกวา

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน ร่วมงานมหกรรมกีฬา กศน.เกมส์ ประจำปี 2554 ณ จังหวัดเชียงใหม่


        เมื่อวันที่ 5-7 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา กศน.อำเภอหนองหิน นำโดย ท่านผู้อำนวยการประเด็จ  แปลงกันทา ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเชียงคาน รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอหนองหิน พร้อมด้วยบุคลากร กศน.อำเภอหนองหิน เข้าร่วมงานมหกรรมกีฬา กศน.เกมส์ ประจำปี 2554 ณ สนามกีฬาสมโภชน์เชียงใหม่ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน จัดโครงการค่ายบูรณาการเสริมสร้างความรู้ทักษะวิชาการและทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ภายใต้โครงการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี


      เมื่อวันที่ 26-27 สิงหาคม 2554 กศน.อำเภอหนองหิน ดำเนินการจัดโครงการค่ายบูรณาการเสริมสร้างความรู้ทักษะวิชาการและทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ภายใต้โครงการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี ณ วัดป่าวังวิโมกข์ ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย มีนักศึกษากลุ่มเป้าหมายทุกระดับ จำนวน 120 คน ร่วมกิจกรรมโครงการแบบค่ายพักแรม 2วัน 1 คืน โดยกำหนดรูปแบบกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนทักษะทางวิชาการ จัดฐานการเรียนรู้จำนวน 4 ฐานการเรียนรู้ คือ ฐานการเรียนรู้ด้านภาษา(ไทย-อังกฤษ) ฐานการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ฐานการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และฐานการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมการอ่าน ส่วนทักษะชีวิต จัดกิจกรรมกระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด การป้องกันโรคเอดส์ การดำเนินวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมกระบวนการกลุ่มแบบคิดเป็น และกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งกิจกรรมในแต่ละส่วนได้บูรณาการรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินวิถีชีวิตของชุมชนสอดแทรกความรู้ทางวิชาการเน้นกระบวนการกลุ่มแบบประชาธิปไตย








กศน.อำเภอหนองหิน ส่งบุคลากรเข้าอบรมโครงการเผยแพร่ประชาธิปไตย


        เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา บุคลากร กศน.อำเภอหนองหิน จำนวน 6 คน เข้าร่วมโครงการเผยแพร่ประชาธิปไตย เกี่ยวกับพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง ประจำปี 2554 ณ โรงแรมฟลอร่าฮิลล์ รีสอร์ต อำเภอเมือง จังหวัดเลย ซึ่งโครงการดังกล่าวที่ทาง สำนักงาน กกต.จังหวัดเลยจัดขึ้น นับว่าเป็นประโชยน์แก่คณะครู กศน. อันจะนำไปสู่กระบวนการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจให้แก่นักศึกษา และประชาชนในตำบลที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองได้ทราบต่อไป

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน จัดโครงการประชุมเพื่อทบทวนบทบาทภารกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อาสาสมัคร กศน.ประจำปี 2554



        เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 กศน.อำเภอหนองหิน จัดโครงการประชุมเพื่อทบทวนบทบาทภารกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพอาสาสมัคร กศน.ประจำปี 2554 ณ ห้องประชุมชั้น 3 โรงเรียนชุมชนหนองหิน เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทบทวนบทบาทภารกิจ อาสาสมัคร กศน.ของ กศน.อำเภอหนองหิน จำนวน 71 คน โดยมีท่าน พิชัย กิตติพันธ์วรกุล นายกเทศบาลตำบลหนองหิน เป็นประธานเปิดโครงการ และร่วมบรรยายพิเศษ คุณเฉลิมชัย อินทรชัยศรี ประธานกรรมการสถานศึกษา และท่านประเด็จ แปลงกันทา ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอวังสะพุง รักษาการ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอหนองหิน ร่วมบรรยายพิเศษ ในครั้งนี้ กศน.อำเภอหนองหิน ได้มอบประกาศเกียรติคุณบัตรให้แก่ภาคีเครือข่ายที่ได้ให้การสนับสนุนสนุน ส่งเสริมและร่วมจัดกิจกรรม กศน. คือ สำนักงานเทศบาลตำบลหนองหิน โรงเรียนชุมชนหนองหิน และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง(กลุ่มปุ๋ยและเห็ดไทเลย) ที่ให้การสนับสนุน กศน.อำเภอหนองหินด้วยดีตลอดมา

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน รับการฝึกอบรมการใช้งานโปรแกรม AntiDrug เพื่อจัดการข้อมูลการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา


วันที่ 17 สิงหาคม 2554 นายจิรภัร  นามพุทธา ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน กศน.อำเภอหนองหิน เข้ารับการฝึกอบรมการใช้งานโปรแกรม AntiDrug เพื่อการจัดการด้านข้อมูลการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษา   โดยมีท่านอาจารย์สมพร  มาตรย์สุริ  และอาจารย์สุริยะ วิไลวงศ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลเนื่องใน "วันแม่แห่งชาติ"


        เมื่อเวลา 08.30 น. ของวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา กศน.อำเภอหนองหิน นำโดย นายจิรภัทร นามพุทธา ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ได้รับมอบหมายจาก นายประเด็จ แปลงกันทา ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอวังสะพุง รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอหนองหิน ให้นำคณะครูเข้าร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล "แม่แห่งแผ่นดิน" เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2554 ณ หอประชุมอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย เพื่อถวายความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของแม่แห่งแผ่นดิน

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน กำหนดจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไตรมาสที่ 4

     ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหิน ได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในไตรมาสที่4 (เดือนสิงหาคม) ดังนี้
     วันที่ 5 สิงหาคม การแข่งขันกีฬา กศน.เกมส์(กลุ่มโซนภูธานี) บุคลากรร่วมเป็นนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันที่ จังหวัดอุดรธานี
     วันที่ 12 สิงหาคม ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถ (วันแม่แห่งชาติ) ณ ที่ว่าการอำเภอหนองหิน และเทศบาลตำบลหนองหิน
     วันที่ 18 สิงหาคม โครงการอำเภอยิ้ม นำกิจกรรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ บ้านหลังเรียน และห้องสมุดเคลื่อนที่ร่วมให้บริการ ณ บ้านห้วยไผ่เหนือ ตำบลปวนพุ และจัดโครงการประชุมทบทวนบทบาท ภารกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อาสาสมัคร กศน.ประจำปี 2554 ณ ห้องประชุม ชั้น 3 โรงเรียนชุมชนหนองหิน
     วันที่ 19 - 20 ร่วมงานแข่งขันกีฬา กศน.เกมส์ ระดับภาคฯ ที่ จังหวัดมหาสารคาม
     วันที่ 25 สิงหาคม ส่งบุคลากร 6 คน เข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับการเมืองและพัฒนาประชาธิไตย ณ โรงแรมฟลอร่าฮิลล์ รีสอร์ต อำเภอเมือง จังหวัดเลย
     และวันที่ 2ุ6-27 สิงหาคม จะจัดโครงการค่ายบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ ณ วัดป่าวังวิโมกข์  ตำบลปวนพุ  อำเภอหนองหิน
     ซึ่งผลการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร ทางทีมงานประชาสัมพันธ์ จะนำมารายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน


        กศน.อำเภอหนองหิน ได้ดำเนินกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน ขึ้น ระหว่างวันที่ 13 - 23 กรกฎาคม 2554 เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในอำเภอหนองหิน จำนวน 3 ชุมชน/ตำบล คือ  ๑. ตำบลตาดข่า จัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรแบบผสมผสาน ลุงเยื้อน และกลุ่มปุ๋ยอัดเม็ด ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน และจัดกระบวนเรียนรู้การเลี้ยงกบและปลา ณบ้านตาดข่า ตำบลตาดข่า จำนวน ๑๐๐ คน

๒. ตำบลหนองหิน จัดกระบวนการเรียนรู้ในการเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดบด ณ ชุมชนบ้านห้วยไผ่ไต้ ตำบลหนองหิน จำนวน ๑๕๐ คน


๓. ตำบลปวนพุ จัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาดูงานในแหล่งเรียนรู้โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ (ผาเกิ้ง-ผานาง) อำเภอเอราวัณ และจัดกระบวนการเรียนรู้ในการทำน้ำหมัก และปุ๋ยหมักชีวภาพ ณ วัดป่าวังวิโมกข์  ตำบลปวนพุ  อำเภอหนองหิน จำนวน ๑๐๐ คน


ซึ่งในการดำเนินงานโครงการนี้มีู้ประชาชนเข้าร่วมรวม ๓๕๐ คน

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครู กศน.หนองหิน ศึกษาดูงานการจัดการศึกษา กศน.เมืองสุโขทัย


        ผอ.ประเด็จ แปลงกันทา ผอ.กศน.อำเภอวังสะพุง รักษาการในตำแหน่ง ผอ.กศน.อำเภอหนองหิน นำคณะครู กศน.อำเภอหนองหิน ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาบุคลากรในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระหว่างวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2554 ณ จังหวัดสุโขทัย โดยเข้าเยี่ยมชมดูงานการจัดการใน กศน.ตำบล และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ของ กศน.อำเภอเมืองสุโขทัย กศน.ตำบลปากแคว และกศน.ตำบลเมืองเก่า ในสังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดสุโขทัย เพื่อนำเทคนิค กระบวนการ มาปรับใช้สำหรับการพัฒนา กศน.ตำบล และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ของ กศนอำเภอหนองหิน ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา


        เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา กศน.อำเภอหนองหิน จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ครั้งที่ 1/2554 เพื่อรับฟังผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือน ของ กศน.อำเภอหนองหิน พร้อมทั้งให้ท่านคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบแผนงานและโครงการในไตรมาสที่ 4 และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานงานของ กศน.อำเภอหนองหิน โดยมีท่านเฉลิมชัย  อินทรชัยศรี ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นประธานเปิดและดำเนินการประชุมตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมคุนหมิง กศน.อำเภอหนองหิน

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน ร่วมโครงการอำเภอยิ้ม บ้านห้วยเป้า ตำบลปวนพุ 14 มิถนายน 2554

        เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 นายประเด็จ  แปลงกันทา ผอ.กศน.อำเภอวังสะพุง รักษาการในตำแหน่ง ผอ.กศน.อำเภอหนองหิน นำคณะครู กศน.อำเภอหนองหิน เข้าร่วมโครงการอำเภอยิ้ม เพื่อให้บริการประชาชน ที่โรงเรียนบ้านห้วยเป้า หมู่ 7  ตำบลปวนพุ  อำเภอหนองหิน  จังหวัดเลย  โดยนำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  กิจกรรมบ้านหลังเรียน ของห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองหิน กิจกรรมแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ของ กศน.ตำบลปวนพุ มีประชาชน นักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมกว่า 100 คน ในโอกาสนี้ กศน.อำเภอหนองหินได้เข้าร่วมพบปะกับประชาชนร่วมกับหน่วยงานราชการในอำเภอหนองหิน เพื่อแนะนำตัวหน่วยงานให้ประชาชนได้รู้จัก ร่วมรับฟังและให้คำแนะนำ พร้อมทั้งร่วมแจกเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนที่เข้ารับบริการในโครงการ

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอหนองหิน เข้าร่วมต้อนรับและรับฟังคำแนะนำในการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ จาก ศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.


         เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 บุคลากร กศน.อำเภอหนองหิน นำโดย นายจิรภัทร  นามพุทธา ครูอาสาสมัครฯ นายภัทรพงษ์  กิจเรณู และนายชาตรี  จันทะภา  ครู กศน.ตำบล ได้รับมอบหมายจาก นายประเด็จ  แปลงกันทา ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอวีงสะพุง รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอหนองหิน ให้เข้าร่วมต้อนรับ และรับฟังคำแนะนำในการจัดทำแผนบูรณาการ ที่ กศน.อำเภอวังสะพุง ในโอกาสที่ ท่านศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน. นางอังคณา วสุวรวงศ์ ได้มาติดตามผลการดำเนินตามนโยบายของสำนักงาน กศน. ในพื้นที่ จังหวัดเลย ระหว่างวันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2554

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบชุดที่ 2 ตามมาติด ๆ

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

1.   ถ้าจะจบระดับประถมศึกษาตามหลักสูตร กศน.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551 ทำกิจกรรม กพช.  ไป 130 ชั่วโมง  เมื่อมาเรียนระดับ ม.ต้น  ต้องทำกิจกรรม กพช.  กี่ชั่วโมง
                ก.  30  ชั่วโมง
                ข.  70  ชั่วโมง
                ค.  100 ชั่วโมง
                ง.  430  ชั่วโมง

2.   จำนวนหน่วยกิจระดับประถมศึกษา ม.ต้น และ ม. ปลาย ตามลำดับ คือข้อใด
                ก.  32 – 54 – 67
                ข.  35 – 56 – 67
                ค.  36 – 56 – 76
                ง.  48 – 56 – 76

3. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การจบหลักสูตร
                ก.  ผ่านการประเมินคุณภาพชีวิต
                ข.  ผ่านการประเมินการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และเขียน
                ค.  เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
                ง.  ได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านครบตามโครงสร้างหลักสูตร

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 4
a.  ทักษะการเรียนรู้                          f.  วิทยาศาสตร์
b.  การคิดเป็น                                     g.  การประกอบอาชีพ
c.  คณิตศาสตร์                                    h.  เศรษฐกิจพอเพียง
d. ความรู้พื้นฐาน                               i.  ทักษะการดำรงชีวิต
e.  การพัฒนาสังคม                           j.  การพัฒนาสังคมและชุมชน
4.   ข้อใดคือชื่อสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551
                ก.  a – b – e – g – j
                ข.  a – d – e – g – i
                ค.  b – c – f – I – j
                ง.  c – e – g – h – i

5.   รายวิชา เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในสาระใด
                ก.  ความรู้พื้นฐาน
                ข.  การพัฒนาสังคม
                ค.  การประกอบอาชีพ
                ง.  ทักษะการดำเนินชีวิต

6.   รายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีจำนวนหน่วยกิจเท่าใด
                ก.  3
                ข.  4
                ค.  5
                ง.  7

7.   จากรหัสวิชาที่กำหนด B มีความหมายตามข้อใด
                อช   12   001
                                      C
                                       B
                                      A
                ก.  ลำดับที่ของรายวิชา
                ข.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                ค.  รายวิชาเลือกที่ส่วนกลางพัฒนา
                ง.  รายวิชาเลือกที่สถานศึกษาพัฒนา

8.   รายวิชาที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์จะอยู่ในสาระใด
                ก.  ความรู้พื้นฐาน
                ข.  ทักษะการเรียนรู้
                ค.  การประกอบอาชีพ
                ง.  ทักษะการดำเนินชีวิต

9.   ข้อใดเป็นหลักการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
                ก.  จัดให้ผู้เรียนลงทะเบียนในภาคเรียนแรก
                ข.  จัดให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอทำกิจกรรมโครงการในภาคเรียนแรก
                ค.  นำความรู้และประสบการณ์จากการทำกิจกรรมต่างๆ มาเทียบโอนได้
                ง.  ถูกทุกข้อ
10.   ข้อใดเป็นกิจกรรมตามหลักการของการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลักสูตร
                ก.  การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
                ข.  การเข้าค่ายวิทยาศาสตร์
                ค.  การทำความสะอาดสนามของสถานศึกษา
                ง.  ถูกทุกข้อ

11.   ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ครู
                ก.  ให้ความรู้  ความเข้าใจ  แนวทางการจัดทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
                ข.  เป็นที่ปรึกษา  และติดตามการดำเนินงาน
                ค.  จัดทำแผนและกิจกรรมร่วมกับผู้เรียน
                ง.  เป็นผู้อนุมัติโครงการ

12.   แนวทางการฝึกให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดเป็นควรจัดอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด
                ก.  สอดแทรกในการพบกลุ่มและทำโครงงาน
                ข.  จัดให้เรียนในรายวิชาคิดเป็น  ในรูปแบบการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
                ค.  บูรณาการในทุกรายวิชา  ยกเว้น  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ
                ง.  เรียนรู้กระบวนการคิดเป็น  และฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์จากสถานการณ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้า

13.   การจัดการเรียนรู้ในข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
                ก.  การเรียนรู้แบบชั้นเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
                ข.  การเรียนแบบพบกลุ่มควรเน้นการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์
                ค.  การเรียนรู้แบบทางไกลจะเน้นการเรียนรู้โดยการศึกษาค้นคว้างานเดี่ยว
                ง.  การจัดการเรียนรู้ทุกรูปแบบสถานศึกษาจะต้องจัดทำปฏิทินการจัดการเรียนรู้แจ้งให้ผู้เรียนทราบ

14.    สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ
                ก.  สถานศึกษาต้องจัดเตรียมสื่อให้พร้อม
                ข.  มีการวางแผนการเรียนร่วมกับกลุ่มเพื่อน
                ค.  จัดทำสัญญาการเรียนระหว่างครูและผู้เรียน
                ง.  ครูควรวางแผนจัดการเรียนรู้ทุกสัปดาห์และแจ้งผู้เรียนทราบ
15.   ถ้าจะให้ผู้เรียน กศน.  ที่เป็นผู้ใหญ่  ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข  ครูควรคำนึงถึงเรื่องใดมากที่สุด
                ก.  ควรศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
                ข.  ควรจัดการเรียนการสอนให้ต่างจากโรงเรียน
                ค.  ควรให้ร่วมกิจกรรมของสถานศึกษาในทุกโอกาส
                ง.  ควรให้ได้เรียนรู้ในเรื่องที่เป็นประโยชน์  สามารถนำไปใช้ได้ทันที
16.   หลักสูตรสถานศึกษาที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นนั้น  กำหนดสอดคล้องกับข้อใด
                ก.  สภาพ  ปัญหาของผู้เรียน  และชุมชน
                ข.  สภา  ปัญหาในชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                สภาพแวดล้อมในชุมชน  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
                ง.  สภาพ  ปัญหา ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

17.   องค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษาข้อใดไม่ถูกต้อง
                ก.  ปรัชญา คิดเป็น
                ข.  การติดตามและประเมินผล
                ค.  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
                ง.  การวัดและประเมินผลการเรียน

18.   ผู้มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  คือข้อใด
                ก.  คณะกรรมการสถานศึกษา
                ข.  คณะกรรมการวิชาการของสถานศึกษา
                ค.  คณะกรรมการของแต่ละระดับการศึกษา
                ง.  คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ

19.   จงเรียงลำดับขั้นตอนการเขียนพันธกิจ
                           1.  กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร
                           2.  มีจุดประสงค์เพื่ออะไร
                           3.  สถานศึกษาจะทำอะไร
                           4.  มีวิธีดำเนินการอย่างไร
                ก.  1 – 2 – 3 -4
                ข.  2 – 3 – 4 -1
                ค.  3 – 1 – 2 – 4
                ง.  3 – 2 – 1- 4

20.   การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาควรเริ่มต้นจากการกำหนดในเรื่องใด
                ก.  การกำหนดพันธกิจ
                ข.  การกำหนดวิสัยทัศน์
                ค.  การวิเคราะห์ปรับพื้นฐาน
                ง.  การกำหนดกรอบโครงสร้าง

แนวข้อสอบชุดที่ 1 เอาไปเลยครับ

นโยบายการศึกษา กศน.
1.       การส่งเสริมการเรียนรู้เน้นเรื่องใด
                ก.  เพิ่มศักยภาพครูกศน.  และภาคีเครือข่ายร่วมจัด
                ข.  มุ่งเน้นสถานศึกษาจัดกิจกรรมเพื่อการคงสภาพการรู้หนังสือ
                ค.  พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระบบพื้นที่และส่วนกลาง
                ง.  ถูกทุกข้อ
2.       สำนักงาน กศน.  มีเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาหลักตามข้อใด
                ก.  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  80
                ข.  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  70
                ค.  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60
                ง.  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  50
3.       นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัยมีจุดเน้นในเรื่องใด
                ก.  การส่งเสริมการอ่าน
                ข.  ห้องสมุด  3 ดี
                ค.  วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
                ง.  ถูกทุกข้อ
4.       ข้อใดไม่ใช่เน้นการดำเนินภาคีเครือข่าย
                ก.  สร้างภาคีเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่  ทุกระดับ
                ข.  จัดทำระบบฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทุกระดับ
                ค.  สำรวจความต้องการของชุมชนในพื้นที่
                ง.  เสริมสร้างแรงจูงใจให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาตลอดชีวิต
5.การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง  อยู่ในช่วงเวลาใด
                ก.  2552 – 2561                                                                         
                ข.  2551 – 2560
                ค.  2553 – 2562
                ง.  2554 -  2563
6.ข้อใดไม่ใช่การยกระดับคุณภาพการศึกษาตามอัธยาศัย
                ก.  พัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
                ข.  จัดให้มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ตามหมู่บ้าน
                ค.  พัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
                ง.  จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาพังงา  ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์
7.ข้อใดคือแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของสำนักงานกศน.
                ก.  ปรับบทบาทสำนักงาน กศน.  เป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต
                ข.  การดำเนินการจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมทุกพื้นที่
                ค.  พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถตามบทบาทภารกิจ
                ง.  ก.  และ ข. ถูก
8.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะห้องสมุด 3 ดี
                ก.  หนังสือดี
                ข.  ระบบบริการดี
                ค.   บรรยากาศดี
                ง.  บรรณารักษ์ดี
9.Decency  มีความหมายตรงกับข้อใด
                ก.  ความเชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                ข.  มีคุณธรรมมีความภูมิใจในความเป็นไทย
                ค.  ภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด
                ง.  ไม่มีข้อถูก
10.ข้อใดคือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                ก.  กิจกรรมค่ายวิชาการ , กิจกรรมเรียนปรับพื้นฐาน
                ข.  กิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน  ICT
                ค.  กิจกรรมจัดหาสื่ออุปกรณ์การสอนของครู
                ง.  ถูกทุกข้อ