วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปพิเศษ รัฐธรรมนูญ 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2550
1.  รัฐธรรมนูญปัจจุบัน                                     ฉบับที่  18 ประกาศใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2550
2.  รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันร่างโดย            สภาร่างรัฐธรรมนูญ
4.  ประธานกรรมธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  นต.ประสงค์  สุ่นศิริ
5.  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ                คือนายมีชัย  ฤชุพันธ์
6.  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ              คือ  นายมีชัย  ฤชุพันธ์
7.  รัฐธรรมนูญมีทั้งหมด                                 15  หมวด   309 มาตรา
บททั่วไป
8.  พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจผ่านทาง   รัฐสภา   คณะรัฐมนตรี  ศาล
พระมหากษัตริย์
9.   พระมหากษัตริย์ทรงเป็น  พุทธมามะกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
10.   พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
11.   พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง    ประธานองคมนตรีและองคมนตรีอีก 18 คน(1+18=19)
12.   ประธานรัฐสภา   ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง  ประธานองคมนตรี
13.   ประธานองคมนตรี  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง  องคมนตรี
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
14.   บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่าง
         ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
15.   บุคคลที่อายุเกิน 60 ปี มีสิทธิได้รับสวัสดิการ
หน้าที่ของชาวไทย
16.การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนไทย( ไม่ใช้สิทธิและเสรีภาพหมวด3)
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
17. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐคณะรัฐมนตรีต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินงานรวมทั้ง  ปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง      
18.  การดำเนินการใดที่เป็นเหตุให้โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ51จะกระทำมิได้
19.  รัฐสภาประกอบด้วย   สมาชิก 630  คน
การร่างพระราชบัญญัติ
20.  ร่างพระราชบัญญัติต่างๆที่ตราขึ้นเป็นกฎหมายได้คำแนะนำและยินยอมของ  รัฐสภา
21.   เมื่อผ่านรัฐสภา(ข้อ20)             นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าภายใน  20  วัน    เมื่อลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ใช้บังคับเป็นกฏหมายได้
22.   ร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมาหรือพ้น 90 วันแล้วท่านไม่ได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องนำมาปรึกษา  มติ ไม่น้อยกว่า 2ใน 3 ของสมาชิก  จากนั้นนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าอีกภายใน 20 วัน  เมื่อมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน นายกนำพระราชบัญญัติประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลบังคับใช้ได้)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(  480  คน)
23.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร          แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  400 คน จาก157 เขตเลือกตั้ง
24.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  แบบสัดส่วน                80  คน กลุ่มจังหวัดละ 10 คนจาก  8 กลุ่มจังหวัด
25.   ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคือผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
26.   ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
27. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
28. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ต้องเป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน
29. อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ  4 ปี
30.  สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรเริ่มเมื่อ วันเลือกตั้ง
31.  เมื่อครบวาระ 4 ปี(อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง) กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน
32.   ถ้ายุบสภาผู้แทนราษฎร ต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน  ไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน  นับแต่วันที่ยุบสภาผู้แทนราษฎร
33. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะ ยุบสภาผู้แทนราษฎร  ต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน ไม่น้อยกว่า  45  วัน แต่ไม่เกิน 60  วัน
34.. เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลง
                                แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  ให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ตำแหน่งนั้น
                        ว่าง  เว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลือไม่ถึง 180  วัน
                                แบบสัดส่วน  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศรายรายชื่อผู้ที่ลำดับถัดไปใน
                        บัญชีรายชื่อพรรคการเมืองนั้นเลื่อนขึ้นมาแทนตำแหน่งว่าง โดยประกาศในราช
                          กิจจานุเบกษา  ภายใน 7 วัน
วุฒิสภา   (150 คน)
35.  สมาชิกวุฒิสภามีได้จังหวัดละ  1  คน (76  จังหวัด/76 คน)มาจากการเลือกตั้ง
36. สมาชิกวุฒิสภา สรรหา มีจำนวนเท่ากับ (150 คน หักด้วย 76 คน = 74 คน)
37.  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ/ประธานกรรมการการเลือกตั้ง  สรรหาสมาชิกวุฒิสภา
38. สมาชิกวุฒิสภาต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี  สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
39. สมาชิกภาพสมาชิกวุฒิสภา
                                สมาชิกวุฒิสภาที่มาการเลือกตั้งเริ่ม วันที่มีการเลือกตั้ง
                                สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาเริ่มวันที่ ประกาศผลการสรรหา
40. สมาชิกวุฒิสภามีวาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี จะดำรงตำแหน่งเกิน1วาระไม่ได้
41.สมาชิกวุฒิสภาที่มาการเลือกตั้งสิ้นสุดลงต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 30  วัน
42.สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาสิ้นสุดลงต้องทำการสรรหาใหม่ภายใน 60  วัน

บทที่ใช้ร่วมกันทั้ง 2 สภา
43. สมัยประชุม  1 ปีมี 2 สมัยประชุม คือ
                                - สมัยประชุมสามัญทั่วไป
                                - สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ
44 .สมัยประชุมของรัฐสภาสมัยหนึ่งมีกำหนด   120 วัน
45. การปิดประชุมสภาสมัยสามัญก่อนครบวาระ 120 วันจะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของรัฐสภา
46.  พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา  ทรงเปิด  และทรงปิดประชุม

การตราพระราชบัญญัติ
47.ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้

การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน
48.ส.ส. ไม่น้อยกว่า1ใน5ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าขออภิปรายไม่ไว้วางใจ
49.ส.ส. ไม่น้อยกว่า1ใน6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าขออภิปรายไม่ไว้วางใจ 
50. สมาชิกวุฒิสภา ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภามีสิทธิ์เข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงในการบริหารราชการโดยไม่มีการลงมติ

การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
51. ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้  โดยเสนอต่อประธานรัฐสภา
52.  ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน  มีสิทธิ์เข้าชื่อถอดถอนบุคคลมาตรา270ได้

คณะรัฐมนตรี
53.  คณะรัฐมนตรีมีทั้งหมด 36 คน (นายก+รัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน35 คน)
54.  นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
55.  นายกรัฐมนตรีจะดำรงดำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้
56.   ผู้ที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
57.   หลังจากประชุมรัฐสภาครั้งแรกแล้วภายใน 30 วัน สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาเห็นชอบบุคคลสมควรเป็นนายกรัฐมนตรี
58.  รัฐมนตรีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี  สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

ศาล
59.  ศาลตามรัฐธรรมนูญมีทั้งหมด  4  ศาล
                1.ศาลรัฐธรรมนูญ(ประธาน+ตุลาการ =  9 คน) มีวาระการดำรงตำแหน่ง  9 ปี
                2.ศาลยุติธรรม   มี 3 ชั้น  ศาลชั้นต้น            ศาลอุทธรณ์          ศาลฏีกา
                3.ศาลปกครอง    ให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น และจะมีศาลปกครองชั้น
               อุทธรณ์ก็ได้
                4.ศาลทหาร

องค์ตามรัฐธรรมนูญ
60. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) (ประกรรมการ+กรรมการอื่นอีก 4 คน)เป็น 5 คน วาระ 7 ปี
      ประธานกกต.ปัจจุบันคือ นายอภิชาต  สุขัคคานนท์  
61. คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มี(ประกรรมการ+กรรมการอื่น
62. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  (ประกรรมการ+กรรมการอื่นอีก 6 คน)                    เป็น 7 คน วาระ 6 ปี
63. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ประกรรมการ+กรรมการอื่นอีก 6 คน)            เป็น 7 คน วาระ 6 ปี

การตรวจสอบทรัพย์สิน
64. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
                ภายใน30วัน นับแต่วันรับตำแหน่ง                                รับตำแหน่ง
                ภายใน30วัน นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง                       พ้นตำแหน่ง
   * กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตาย    ทายาทต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
     ภายใน 90 วัน

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
65. ผู้ที่มีสิทธิเสนอญัตติแก้ไข  รัฐธรรมนูญ
                                -  คณะรัฐมนตรี
                                - สมาชิก ส.ส. มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนทั้งหมด
                                - สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของทั้ง 2 สภา
                                - ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อย 50,000 คน
*(ญัตติที่ไม่สามารถเสนอได้คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองและเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น