วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

"เรามาเรียนรู้ เรื่อง อาเซี่ยน กันเถอะ"


สัญลักษณของอาเซียน  
         เปนรวงขาวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงการที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตท้ัง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเปนนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน อยูในพื้นที่วงกลมสีแดง ขอบสีขาวและนํ้าเงิน ึซ่งแสดงถึงความ
เปนเอกภาพ มีตัวอักษรคําวา “asean”  ีสนํ้าเงินอยูใตภาพ อันแสดงถึงความมุงมั่นที่จะทํางานรวมกันเพื่อความมั่นคง ั สนติภาพ เอกภาพ และความกาวหนาของประเทศสมาชิกอาเซียน ีสท้ังหมดที่ปรากฏใน
สัญลักษณของอาเซียนเปนสีสําคัญที่ปรากฎในธงชาติของแตละประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสีนํ้าเงิน หมายถึง สันติภาพ  และความมั่นคง ีสแดง หมายถึง ความกลาหาญและความกาวหนา ีสขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุงเรือง


อาเซียน : ASEAN (Association of South East Asia Nations)
        หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ค. ปี 2504 โดยประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South east Asia เพื่อที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่างอินโอนีเซียกับมาเลเซีย จนกระทั่งมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพ จึงมีการมองสู่ทางที่จะจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมภาคนี้ ดังนั้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค. พ.ศ. 2510 โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย และได้ทำการลงนามปฎิญญากันที่กรุงเทพ ฯ ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ ซึ่งมีสมาชิกที่เพิ่มขึ้น คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยประเทศอาเซียนได้ตกลงที่จะลด

อากรขาเข้าทางการค้าเป็นพิเศษสำหรับสินค้าในกลุ่มมิอาเซียน มีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวสำหรับสินค้าบางชนิดระหว่างกัน ให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าอาเซียนในการจัดซื้อของหน่วยงานและองค์กรของรัฐ ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การซื้อขายสินค้าอาเซียน ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นต้น ส่วนสำนักงานของ

อาเซียน หรือที่เรียกกันว่า สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของกลุ่ม

อาเซียน ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/sociology/10000-1136.html

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กศน.พุ่งเป้าพัฒนาการศึกษาอาชีพเน้นมีงานทำ เน้น 5 กลุ่มอาชีพ

        นาย ประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มอบนโยบายแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนงานจากสำนักงาน กศน.จังหวัด/อำเภอ เกือบ 400 คน ว่าการจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้ มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” และได้กำหนดภารกิจจะพัฒนายกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความ สามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ที่มั่นคง โดยสำนักงาน กศน.ได้กำหนดหลักการในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำไว้ว่า ต้องเป็นการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นด้านหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ใน 5 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงกลุ่มจัดการและการบริการ โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ โดยมุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมี คุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง

        เลขาธิการ กศน.กล่าวอีกว่า สำนักงาน กศน.ได้นำนโยบายและยุทธศาสตร์ข้างต้นไปสู่การปฏิบัติเพื่อจัดการศึกษาพัฒนา อาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนมีรายได้และมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล โดยจัดศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ ประชาชนและประเทศชาติ.

เอามาจากเว็บไซตืครู กศน.ดอทคอมจ้า
http://www.krukorsornor.com/news-id516.html

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ภาระกิจ ของ คุณครู กศน.ตำบล.

กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน. อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ในชุมชน 

กศน. ตำบล มีภาระกิจที่สำคัญ ดังนี้ 

1 จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้า หมาย ในชุมชน อย่างน้อยปีละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรม ดังนี้ 
1.1 การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย
1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 60 คน
1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 20 คน
1.2.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 20 คน
1.2.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน
1.2.5 การส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชยาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน
1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน

2 สร้าง และขยายภาคีเครือข่าย เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน

3. ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วม และศักยภาพในการจัด

4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.

5. จัดทำแผนงานโครงการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่ม เป้าหมาย และชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงาน ของ สำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัด และ กศน. อำเภอ ที่สังกัด เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ จาก กศน. อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัวตามที่ มติคณะรัฐมนตรีกำหนด คูณด้วยจำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นั้น จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน. อำเภอ

6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนชุมชน และภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและกับ กศน. อำเภอ ที่สังกัด ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงาน บนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฏิบัติ

7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบ ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน. อำเภอที่สังกัด

8. รายงานผลการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้

9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จาก กศน. อำเภอ สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมาย กำหนด